วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

โครงการจัดการความรู้เรื่อง “การควบคุมโรคติดต่อในชุมชน”

โครงการจัดการความรู้เรื่อง “การควบคุมโรคติดต่อในชุมชน”
(Knowledge management for comunicable desease control)
อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2550
---------------------------------------------------------------------------------------------
หลักการและเหตุผล
นับตั้งแต่การพัฒนาประเทศได้เริ่มดำเนินการที่เป็นรูปแบบที่ชัดเจน โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 การพัฒนาตามแผนฯดังกล่าวในอดีตที่ผ่านมา ภาครัฐส่วนมากจะเป็นผู้กำหนดทิศทางในพัฒนาตามความต้องการของตนเอง ทำให้ประชาชนส่วนมากไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของตนและชุมชนโดยเฉพาะโครงการต่าง ๆ ถูกกำหนดโดยภาครัฐ โดยไม่คำนึงถึงความจำเป็น และความต้องการของคนในชุมชนเลย ทำให้โครงการหลาย ๆ โครงการที่ดำเนินการในชุมชนไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เกิดความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แม้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8-9 รัฐได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาตามแผนดังกล่าว โดยเน้นคนเป็นจุดศูนย์กลางในการพัฒนา เพื่อเป็นการเปลี่ยนแนวทางและเป็นการรับฟังปัญหาตลอดจนความต้องการจากคนในชุมชนมากขึ้น เช่น การรณรงค์ให้จัดทำแผนแม่บทชุมชนขึ้นในจังหวัด การทำประชาคมของภาคส่วนราชการ ฯลฯ แต่ในลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้นในทางปฏิบัติยังคงเหมือนเดิม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เป็นการพลิกผันของแนวทางการพัฒนาที่แต่ก่อนการพัฒนาเคยมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ วัดความเจริญหรือการพัฒนาประเทศกันที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประชาชาติ(GDP) มาเป็นการพัฒนาประเทศโดยการยึดหลักในการดำเนินงานแบบเศรษฐกิจพอเพียง คือส่งเสริมให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่เร่งรีบ แต่มั่นคง เน้นการมีความสุขของประชาชนคนในชาติ
การพัฒนาด้านสาธารณสุข ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานตามแผนพัฒนาดังกล่าวที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมิติของการเข้าถึงประชาชน 4 ด้านคือ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันโรค และด้านการฟื้นฟูสภาพ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 2 ด้าน ด้านเชิงรุก และการตั้งรับ ทั้งยุทธศาสตร์ด้านเชิงรุกและรับ กระทรวงสาธารณสุขได้ปลูกฝังและสร้างทักษะให้เจ้าหน้าที่ ในการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขในกิจกรรมต่าง ๆ แก่ประชาชนเป็นประจำ อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนปฏิบัติตัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สู่การดำเนินชีวิตดี ปราศจากโรค
การให้ความรู้ดังกล่าวส่วนมากวิธีการและกระบวนการทำงานได้ถูกกำหนดโดยภาคราชการที่ระดับสูงขึ้นไป ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานก็ “รับลูก” มาใช้ในชุมชน ดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนในเนื้อหาสาระ ตามที่ตัวเองได้รับการถ่ายทอดมาจาก สถาบันการศึกษาบ้าง จากการอบรมเพิ่มเติมบ้าง กล่าวคือ เป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษา ตำรา (Explicit knowledge) โดยลืมความรู้ที่ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนที่มีอยู่ในตัวคนและชุมชนและที่ได้สั่งสมสืบทอด ต่อ ๆ กันมา นั่นคือความรู้ที่เป็น ภูมิปัญญา(Wisdom) ความรู้ที่ซ่อนเร้นหรือความรู้แอบแฝงในตัวคน(Implicit knowledge) หรือแม้แต่ ความรู้ที่ฝังลึก (Tacit knowledge) แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่เราสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ได้อย่างไร
ดังนั้นในมิติของกระบวนการให้ความรู้หรือ การเรียนรู้ เพื่อ เป็นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในระดับชุมชน การจัดการความรู้(Knowledge management) เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่นำมาใช้ได้เป็นอย่างดี โดยการจัดการทั้ง ความรู้ทั้งที่ได้จากการเรียน การศึกษา และความรู้ที่ซ่อนเร้นและฝังลึกอยู่ในตัวบุคคลและชุมชน(Implicit knowledge) หรือ ความรู้ที่ฝังลึก (Tacit knowledge) มาจัดการถอดรหัสภูมิปัญญาที่มีอยู่ ผสานกับความรู้ที่เห็นเด่นชัด(Explicit knowledge) (Knowledge sharing)แล้วนำมาจัดเป็นขั้นตอนกระบวนการเป็นคลังแห่งความรู้(Knowledge Assets)ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(ICT) เกิดเป็นเครื่องมือที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทรงพลัง
การควบคุมโรคในชุมชนโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะอำเภอพระพรหม เป็นอำเภอที่ทุกปี ๆ โรคไข้เลือดออกระบาดควบคู่ไปกับอำเภอเมือง ปี 2548 เกือบทุกหมู่บ้านประชากรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก กว่าจะมีการควบคุมได้สำเร็จก็เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ประการที่สำคัญคือ ประชาชนขาดความรู้ ความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก การให้ความรู้ก็เป็นเพียงเสียงตามสาย หอกระจายข่าว หรือ รถประชาสัมพันธ์ ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม ปัญหาไม่ได้ถูกกำหนดมาจากชุมชน ทิศทางความต้องการเกิดจากการความต้องการของเจ้าหน้าที่ ความรู้ที่ซ่อนเร้น ความรู้ที่ฝังลึกไม่ได้นำมาใช้ เกิดการะบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพระพรหมจึงจัดทำโครงการ การจัดการความรู้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการผสานความร่วมมือ การจัดการความรู้ผสมผสานกันทุกภาคส่วน มาเป็นแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ถอดเป็นองค์นำมาปฏิบัติต่อเนื่องสืบไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อ จัดทำ รูปแบบ กระบวน การศึกษาเรียนรู้ของชุมชนเกี่ยวกับ การควบคุมโรคไข้เลือดออก ในอำเภอพระพรหม ในรูปของการจัดการความรู้
2. เพื่อนำความรู้ และแนวทางการดำเนินงาน การควบคุมโรคไข้เลือดออกมาใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอำเภอพระพรหม
3. เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการ “ ร่วมคิด ร่วมทำ” รวมทั้งการดึงขุมความรู้ ภูมิปัญญามาสู่การปฏิบัติ
4. เพื่อสนับสนุนให้เกิด “ชุมชนเข้มแข็ง” ด้านการควบคุมโรค

เป้าหมายการดำเนินงาน
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทุก สถานีอนามัย รวม 30 คน
- ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำสถานีอนามัย ๆ ละ 2 คน รวม 12 คน
รวม 42 คน
ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน
โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มป้าหมาย ในกระบวนการจัดการความรู้ “การควบคุมโรคในชุมชน”
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการกำหนด เป้าหมาย กำหนดวิสัยทัศน์ร่วม( Knowledge Vison )
- โดยการอบรมทบทวนกลุ่มเป้าหมายทุกคนให้ทราบถึงนโยบาย ทิศทาง การดำเนินงาน เรื่อง การควบคุม โรคในชุมชน ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ จังหวัด อำเภอและหมู่บ้านที่ตนเองอาศัยอยู่
- ศึกษาดูงานการดำเนินงานควบคุมโรคที่ประสบความสำเร็จ(Best practice)

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Know shairing, Shair and learn ) เรื่อง การควบคุมโรคในชุมชน ของอำเภอพระพรหม
- จัดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทุกตำบล ตำบล ละ 1 ครั้ง
- จดบันทึก สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำเวที
ขั้นตอนที่ 3. ขั้นตอนการ สังเคราะห์องค์ความรู้เป็นคลังความรู้ “เรื่องการป้องกันโรคในชุมชน” อำเภอพระพรหม (Knowledge Assets)เป็นคู่มือพร้อมใช้หรือ ถ่ายทอด
- การออกแบบโครงสร้างในการดำเนินงานแต่ละเนื้อหา
- การ Update ปรับแต่งเนื้อหาให้ทันสมัยเหมาะสมกับการนำมาใช้ในพื้นที่
- การนำเทคโนโลยี/ภูมิปัญญา มาผนวกใช้ในการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม 2551
- อบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วัน

สถานที่ ณ หาดเขาพลายดำ ตำบลท้องทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช(อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)

งบประมาณ
งบประมาณจากเครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ งบ PP.com ปี 2550 เป็นเงิน 106,000 บาท(หนึ่งแสนหกพันบาทถ้วน) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
- ค่าที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 21 ห้อง ๆ ละ 500 บาท จำนวน 2 คืน
เป็นเงิน 21,000 บาท
- ค่าอาหารและอาหารว่าง ของกลุ่มป้าหมายจำนวน 42 คน วันละ 500 บาท/คน/วัน
จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 63,000 บาท
- ค่าเช่าเหมารถยนต์ สำหรับคณะ จำนวน 3 วัน ๆ ละ 7,000 บาท/วัน เป็นเงิน 21,000 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท(หมายเหตุ งบประมาณถัวเฉลี่ยทุกรายการ)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ชุมชนในอำเภอพระพรหม ได้จัดทำ รูปแบบ กระบวน การศึกษาเรียนรู้ของชุมชนเกี่ยวกับ การควบคุมโรคในชุมชน ในรูปของการจัดการความรู้
2.ชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องนำความรู้ และแนวทางการดำเนินงาน การควบคุมโรคในชุมชนมาใช้ในอำเภอพระพรหม
3.ชุมชนเกิดการ “ ร่วมคิด ร่วมทำ” รวมทั้งการดึงขุมความรู้ ภูมิปัญญามาสู่การปฏิบัติ
4.เกิด “ชุมชนเข้มแข็ง” ด้านการควบคุมโรคในอำเภอพระพรหม

การประเมินผล
1. โดยการสังเกตจากผู้เข้าร่วมโครงการฯ ความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน
2. โดยสรุปจากรายงานการประชุมวิชาการและการศึกษาดูงานจากกลุ่ม

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประโยชน์จากการเรียนคอมพิวเตอร์

การเรียน คอมพิวเตอร์ จาก ดร.หัสชัย สุทธิรักษ์ ในครั้งนี้มีประโยชน์ มากและ ได้ความรู้มาก ยกตัวอย่างเป็นข้อๆ ได้ดังนี้1. นักศึกษาทุกท่านสามารถสร้างบล๊อคได้ ทำเกิดความภูมิใจและตื่นเต้นที่สามารถ ทำบล๊อคไว้เผยแพร่ความคิดเห็น 2. รู้จักการใช้อินเตอร์เนท ทั้งในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าหาความรู้ เผยแพร่ความรู้ผ่านความคิดเห็นของเราผ่านบล๊อค3. ได้รับความรู้ในการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เนท ผ่าน www.google.com จากจุดนี้เราสามารถ นำข้อมูลจากทั่วโลกมา ใช้ ได้ ทั้งในการจัดทำงานวิจัย หรือเพื่องานส่วนตัว4. ได้เรียนรู้การใช้โปรแกรม spss. ในการคำนวณ หาค่าทางสถิติในการทำวิจัย

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

วิธีคิดชุมชน สองกระบวนทัศน์ เริ่มที่หวังพึ่งรัฐ กับ เริ่มที่ตนเอง


เวทีกลุ่มของกำนัน อวยพรทิพย์ เพียรพันธ์ ต.บางศาลา อ.ปากพนัง การจัดกลุ่มลงเก็บข้อมูลจัดเวทีชุมชนใช้สถานที่วัดบางไทร "การปรับเปลี่ยนอาชีพของเกษตรกร ต.บางศาลา อ.ปากพนัง" ได้มีเพื่อนนักศึกษา เข้าร่วมด้วยช่วยกัน ๒๐ คน ร่วมชาวบ้าน ประมาณ ๔๐ คน และอาจารย์สวัสดิ์ สมัครพงศ์ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้เข้าร่วมมีผู้นำ เช่น นายก รองนายก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. และสมาชิกกล่มผู้หญิง
พอสรุปประเด็นหลัก ๆ ได้ ๑) ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงน้ำเน่าเสีย ผลจากการสร้างประตูน้ำย่อยคลองต่างๆ เช่น คลองบางไทรและสร้างประตูน้ำใหญ่ "อุทกวิภาษประสิทธิ์" ทำให้การเปลี่ยนแปลงอาชีพเกิดขึ้น เป็นต้น ๒) การกำหนดเขตพื้นที่เป็นเขตน้ำจืดประจวบกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำล้มเหลว ทำให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งอยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ๓)การทำเกษตรเคมี เช่น การปลูกพืชผักต้องใช้สารเคมีทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ทำให้สภาพแวดล้อมเป็นพิษ น้ำกิน น้ำใช้ วัชชพืช ระบบน้ำธรรมชาติมีปัญหา ๔) กลุ่มชุมชนขาดความร่วมมืออ่อนแอ ๕) แนวคิดหวังพึ่งรัฐขาดทิศทางการพึ่งตนเองของชุมชน
บุคคล ที่สำคัญ คุณประสิทธิ์ เสนอให้ชุมชนเริ่มต้นจากตนเอง คุณเสนาะ วงศ์เกิด เสนอการทำเกษตรไร่นาสวนผสม ตามแนวทฤษฎีใหม่ และคุณพิพิธ สงช่วย นายก อบต.ควนชะลิก นักศึกษา ป.โท ม.ชีวิตนครศรีธรรมราชเสนอ น้ำหมักชีวภาพหอยเชอร์รี่ บำรุงดิน บำรุงต้นข้าวจะได้ข้าวน้ำหนักดี และสามารถนำมาใช้แก่ปัญหาโรคกุ้งแห้งในพริกขี้หนูได้ผลดี ได้ทำการทดลองมาแล้ว ๒ ปี กับเกษตรกร ควนชะลิก

หัวข้อที่สนใจศึกษา


อาจารณ์ ให้ทำเรื่องหัวข้อที่สนใจศึกษา
การมีส่วนร่วมของผู้นำต่อการพัฒนาตำบลบางศาลา